ทนายความอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

ทนายความอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

เปิดหน้าต่อไป

ประวัติเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น คำขวัญอำเภอชุมแพ

“หลักเมืองเก่าชุมแพ แลผาพระนอนล้ำค่าอารยธรรมโนนเมือง ลือเลื่องเศรษฐกิจ ติดตาผานกเค้า เข้าชมถ้ำผาพวงบวงสรวงปู่หลุบ”

ชุมแพ

ชุมแพ

ประวัติอำเภอชุมแพ

                         ประมาณปี พ.ศ. 2400 พระครูหงส์ได้ชักชวนญาติพี่น้อง 8 ครอบครัวอพยพออกจากเมืองภูเวียง ครั้งสุดท้ายได้หยุดพักเกวียนที่บ้านกุดจอกน้อย แล้วแบ่งครอบครัวออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเลือกตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้กุดแห่น้อย บ้านแห่ ส่วนกลุ่มที่นำโดยพระครูหงส์มีบุตร 3 คน คือ นายโฮม (ต้นตระกูลโฮมหงส์) นายโชค และนายหลอด (ต้นตระกูลหงส์ชุมแพ) ได้เดินทางต่อมาและเลือกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านร้าง มีวัดร้างและกุดแห่งหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก วัดร้างนี้มีธาตุและต้นโพธิ์จึงตั้งชื่อว่า วัดโพธิ์ธาตุ พร้อมกับตั้งชื่อว่าบ้านกุดธาตุ กุดธาตุมีน้ำลึกมาก มีจระเข้ และป่าทึบทำให้จับปลาได้ยาก ประกอบกับรอบ ๆ กุดธาตุมีกอไผ่ขึ้นหนาแน่น ชาวบ้านจึงตัดไม้ไผ่มามัดเป็นแพใช้ยืนหว่านแหแล้วตีวงล้อมเข้าหากัน นานเข้าจึงเรียกว่า “กุดชุมแพ” และ “บ้านชุมแพ” เดิมสุขาภิบาลชุมแพได้ตราประจำประกอบด้วยสัญญาลักษณ์เป็นเจดีย์ใบโพธิ์ และคลื่นฟองน้ำอยู่ภายในวงกลม ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลอำเภอชุมแพขึ้นอีก เปลี่ยนตราประจำสำนักงานเทศบาลตามที่กรมศิลปกรออกแบบให้ตราใหม่มีลักษณ์เป็น วงกรมมีสัญญาลักษณ์เป็นรูปเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีประทับ อยู่บน แพมือขวาถือลูกธนูมือซ้ายถือคันธนูมีนายทหารคนสนิท 2 ชาย นั่งถือธงปลายหอกอยู่คนละข้าง (ประกาศเทศบาลตำบลชุมแพ วันที่ 23 มีนาคม 2530) สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดทัพไปปราบฮ่อ ในเมืองพวน เมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกดังนี้ 1. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักรศิบปาคมเป็นแม่ทัพฝ่ายใต้ยกกองทัพขึ้นไปทางเมืองหนองคาย 2. เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี) เป็นแม่ทัพฝ่ายเหนือยกกองทัพขึ้นไปทางหลวงพระบาง โดยให้ยกทัพไปปราบฮ่อ เมื่อวันอังคาร แรม 11 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ. 2428 (ยงศิลป และโขมพัตร เรืองศุข 2540 : 180) จากประวัติการยกทัพครั้งนี้ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้ยกกองทัพขึ้นไปทางเมืองพิชัย เมืองน่าน เมืองหลวงพระบาง เมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก ตลอดจนถึงเมืองสิบสองจุไทย แสดงว่าไม่ได้ยกกองทัพผ่านบ้านชุมแพเลย บ้านชุมแพตั้งอยู่บนทำเลที่อุดมสมบูรณ์ จงมีผู้อพยพเข้ามาอยู่มากขึ้น ๆ แบ่งได้เป็น 2 คุ้มอู่ระหว่าง 3 วัด ได้แก่ วัดเหนือ (ปัจจุบันเป็นที่ทำการประปา) วัดกลาง (วัดโพธิ์ธาตุ) และวัดใต้ (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนบ้านชุมแพ) ปีพุทธศักราช 2543 ในระหว่างที่ท้าวอุปชิต มิตตะปิด เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 ได้เกิดเพลิงไม้กอไผ่ริมหนองอีเลิงด้านใต้แล้วลุกลามไหม้บ้านนายคาน หงส์ชุมแพจนถึงด้านทิศเหนือ ชาวบ้านไม่มีที่อยู่อาศัย จึงอพยพไปอยู่ตามที่นาของตนเอง ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่บ้านหนองไผ (บ้านหนองไผ่ใต้) และบ้านโคกไม้งานในปัจจุบัน

                       ประมาณปี พ.ศ. 2470 เริ่มมีครอบครัวชาวจีนอพยพเข้ามาค้าขายในบริเวณถนนราษฎร์บำรุง ทิศเหนือของวัดโพธิ์ธาตุ การค้าได้ขยายตัวมากขึ้น ปี พ.ศ. 2485 กำนันเลี้ยง ดีบุญมี ได้บริจาคที่ดินเพื่อตัดถนนราษฎร์บำรุงให้ยาวขึ้นไปทางทิศเหนือ สร้างศูนย์ราชการและโรงเรียนชุมแพ นอกจากนี้ยังได้สร้างบ้านเรือนแถวไม้ชั้นเดียวบริเวณตลาดเหนือและตลาดใต้ให้เช่าทำการค้า ต่อมา กำนันจาก 4 ตำบลของอำเภอภูเวียง ได้แก่ ตำบลชุมแพ ตำบลโนนหัน ตำบลขัวเรียง และตำบลสีสุก (ศรีสุข) ได้ร่วมมือกันยื่นคำร้องต่อกระทรวงมหาดไทยขอตั้งอำเภอชุมแพ พระยาสุนทรพิพิธ (ปลัดกระทรวงมหาดไทยขณะนั้น) ได้มาตรวจที่ ประกอบกับระยะนั้นอำเภอชนบทถูกไฟไหม้ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 กระทรวงมหาดไทยจึงอนุมัติให้ตั้ง อำเภอชุมแพ โดยยุบอำเภอชนบทไปเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบ้านไผ่

                       วันที่ 1 ก.ค. 2486 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 132 ลว 1 ก.ค. 2486 ยกฐานะตำบลชุมแพขึ้นเป็นอำเภอชุมแพมีตำบลในเขตปกครอง 4 ตำบล คือ ต.ชุมแพ ต.โนนหัน ต.ขัวเรียง ต.ครีสุขมี นายพิชญ พรมนารถ เป็นนายอำเภอคนแรก 
                      ปีพุทธศักราช 2499 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลชุมแพ 
                      คืนวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2510 เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่บริเวณตลาดใต้ ตลาดสดดีบุญมีและโรงภาพยนตร์ชุมแพ 
                      ปีพุทธศักราช 2510 พื้นที่ตำบลนาจาน ศรีสุข และสีชมพู แยกไปขึ้นอยู่กับอำเภอ สีชมพู 
                      ปีพุทธศักราช 2524 แยกตำบลโนนคอมไปตั้งกิ่งอำเภอภูผาม่าน 
                      15 ตุลาคม พ.ศ. 2528 สุขาภิบาลชุมแพได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลชุมแพ

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอชุมแพประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่

เทศบาลเมืองชุมแพ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลชุมแพ บางส่วนของตำบลหนองไผ่ และบางส่วนของตำบลไชยสอเทศบาลตำบลโนนหัน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลโนนหันและบางส่วนของตำบลโนนสะอาดเทศบาลตำบลโคกสูงสัมพันธ์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลโนนอุดมและบางส่วนของตำบลขัวเรียง[5]เทศบาลตำบลหนองไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไผ่ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองชุมแพ)เทศบาลตำบลหนองเสาเล้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเสาเล้าทั้งตำบลเทศบาลตำบลนาเพียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเพียงทั้งตำบลเทศบาลตำบลโนนสะอาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนสะอาด (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลโนนหัน)องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชุมแพ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองชุมแพ)องค์การบริหารส่วนตำบลโนนหัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนหัน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลโนนหัน)องค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาหนองทุ่มทั้งตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลโนนอุดม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนอุดม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลโคกสูงสัมพันธ์)องค์การบริหารส่วนตำบลขัวเรียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขัวเรียง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลโคกสูงสัมพันธ์)องค์การบริหารส่วนตำบลไชยสอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไชยสอ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองชุมแพ)องค์การบริหารส่วนตำบลวังหินลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังหินลาดทั้งตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเขียด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเขียดทั้งตำบลสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชุมแพจังหวัดขอนแก่นกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

X